OCA แจ้งยกเลิกประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 ในเดือนพ.ย.นี้

ดร. ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เป็นประธานในการแถลงข่าวประเด็นการตรวจสอบงบเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 ที่เบิกจ่ายไปแล้วตามข้อสั่งการของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยมี นายประชุม บุญเทียม รองผู้ว่าการ กกท. ฝ่ายยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, นางโปรดปราน สมานมิตร รองผู้ว่าการ กกท. ฝ่ายส่งเสริมกีฬา, นพ.มีชัย อินวู๊ด รองผู้ว่าการ กกท. ฝ่ายบริหาร, นายสุรศักดิ์ เกิดจันทึก รองผู้ว่าการ กกท. ฝ่ายกีฬาเป็นเลิศและวิทยาศาสตร์การกีฬา, นายปรีชา ลาลุน รองผู้ว่าการ กกท. ฝ่ายกีฬาอาชีพและกีฬามวย ร่วมแถลง ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา กกท. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม

ผู้ว่าการ กกท. กล่าวว่า การแถลงข่าวในวันนี้ มีรองผู้ว่าการ กกท. ทั้ง 5 ท่านซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในกีฬา เอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 ที่ ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพที่จะจัดขึ้นเดือนพฤศจิกายน นี้ มาร่วมแถลงด้วย ซึ่งเหลือเวลา 2 เดือนกว่า ไม่ถึง 3 เดือน เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ต้องการให้ทุกฝ่ายเข้าใจผิด จึงต้องแถลงข่าวข้อสงสัยต่าง ๆ เพราะ กกท. มีหน้าที่ในการเตรียมนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน เราอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ฝ่ายจัดการแข่งขัน ที่ผ่านมานั้นทำงานกันมาโดยตลอด แต่ไม่ได้อยู่ในสถานะที่สามารถตัดสินใจอะไรได้ทั้งนี้ เพื่อให้สื่อมวลชนทุกท่านได้รับทราบข้อเท็จจริงให้ตรงกันจากประเด็นข่าวต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เปิดเผยได้ เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับประเด็นข่าวต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ จึงขอเรียนให้ทราบทั่วกัน ดังนี้

เรื่องการพิจารณาปรับลด 14 ชนิดกีฬาออกนั้น มาจากการพิจารณาของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งเอเชีย (OCA) ได้หารือร่วมกับ ผู้แทนคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งได้พิจารณาร่วมกันที่ผ่านมา ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อหาข้อสรุปในการเตรียมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ยืนยันที่จะจัดการแข่งขันกีฬา “เอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์” ครั้งที่ 6 แต่จะต้องดูแลให้มีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างเหมาะสมกับจำนวนนักกีฬา เนื่องจากเป็นการจัดภายหลังกีฬาโอลิมปิกเพียง 3 เดือน ซึ่งผลการประชุม OCA เป็นผู้เสนอให้มีการปรับลดชนิดกีฬาลง 14 ชนิดกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้สั่งการให้ กกท. พิจารณาปรับลดงบประมาณให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง โดยเฉพาะให้สอดคล้องกับจำนวนชนิดกีฬาที่ลดลงถึง 14 ชนิดกีฬา ตามข้อเสนอของ OCA รวมถึงจำนวนนักกีฬาและผู้เข้าร่วมการแข่งขันด้วย กกท.ในฐานะผู้รับนโยบายมาดำเนินการ ได้ดำเนินการมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องไม่ได้หยุดการปฏิบัติงานแต่อย่างใด กกท.ได้กำหนดแผนงาน และเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องในภาพรวมด้านกีฬาของประเทศไว้เรียบร้อยแล้ว พร้อมรับนโยบายการขับเคลื่อนจากของภาครัฐ เพื่อเดินหน้าจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 ต่อไป

ผู้ว่าการ กกท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยจะเดินหน้าจัดไม่ได้หากไม่มีการจัดสรรงบประมาณ รัฐมนตรีสมัยที่แล้ว ได้มีการประชุมคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ เรื่องรายละเอียดและแผนงานงบประมาณฯ มีการจัดตั้งคณะกรรมการสำนักงบเป็นประธาน เรียบร้อยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เนื่องจากติดเรื่องงบประมาณประจำปี กกท. ได้นำเสนอแผนงานตามที่ได้เสนอ และเดินหน้าดำเนินงานก่อน โดยใช้งบของ กกท. ในเรื่องสถานที่มีการลงพื้นที่ต่าง ๆ ที่จังหวัดชลบุรี มีการหารือเรื่องระบบไอที และเตรียมการด้านต่างประเทศ ที่พักนักกีฬา ตามสัญญาลงนาม ผ่านมติ ครม. แต่ต้องเดินหน้าต่อไป ด้านไอที มีการทำสัญญากับบอร์แน่น โดยไม่มีทางเลือก ซึ่งได้ถูกระบุในสัญญาลงนาม กกท. มีการเจรจาเพื่อให้ประหยัดงบมากที่สุด ที่ผ่านมาได้ใช้งบของ กกท. ไปก่อน เรารออนุมัติงบโดยที่ต้องรอรายชื่อผู้แข่งขัน ไม่สามารถทำได้ มีการจัดประชุมหลายครั้ง แต่เลื่อนโดยเหตุต่างๆ ไม่สามารถเดินหน้าเนื่องจากขาดงบประมาณ เราไม่สามารถดำเนินการได้ มีการเชิญประชุม และกำหนดวาระการประชุม ยืนยันทางโอซีเอ ประเทศไทย ยังคงยืนยันเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ เดินหน้าจัดการแข่งขัน ทั้งนี้ รมต. จะพิจารณากำหนดวันประชุมโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเกิดผลเสียหาย รวมถึงการยกเลิกการแข่งขันด้วย

สุดท้ายแล้ว เรายังจะเดินหน้าจัดการแข่งขัน จากเดิม ให้พิจารณาจากวันสุดท้ายของการส่ง Entry form by name 31 สิงหาคม นี้ แล้วจึงจะมีการจัดประชุม โดยเร็ว ทั้งนี้ ได้รับหนังสือจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้ดำเนินการตรวจสอบงบประมาณที่ใช้ไปก่อนหน้านั้น ด้วยความโปร่งใส จำนวน 980 ล้านบาท มีงบประมาณในการฝึกซ้อมนักกีฬาหลัก 100 ล้าน เพราะมีการเลื่อนการแข่งขันมาเป็นระยะ ๆ จากช่วงโควิด 19 หรือเรื่องของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เพราะฉะนั้นในการเลื่อนทั้งหมด ประมาณ 4 ครั้ง คณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ได้พิจารณาตามหนังสือของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ เพื่อขอเก็บตัวต่อเนื่อง กกท. ได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ซึ่ง กกท. ก็ได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนานักกีฬาอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญในการเก็บตัวฝึกซ้อมเป็นปี ๆ ซึ่งจะใช้งบประมาณพอสมควร การเก็บตัวนั้นไม่เป็นการเสียเปล่าอย่างแน่นอนเพราะว่าการเก็บตัวฝึกซ้อมของนักกีฬา มีประโยชน์กับตัวนักกีฬาและสมาคม การเก็บตัวเหล่านี้ ทำให้นักกีฬามีความพร้อมในการเข้าร่วมการแข่งขันในระดับภูมิภาค – ระดับโลก มีการประเมินความโปร่งใส มีคณะกรรมการติดตามการใช้งบประมาณเข้าไปตรวจสอบ ว่างบประมาณที่เบิกจ่ายถูกต้องตามวัตถุประสงค์ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงิน กกท. ทำตามระเบียบกฎหมายครบถ้วน ส่วนในเรื่องของการเบิกจ่ายเงินไปแล้ว มีการใช้เงินต่าง ๆ อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ทั้งการประสานกับฝ่ายตรวจสอบภายใน กกท. และ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ใช้งบประมาณเป็นไปอย่างโปร่งใสและถูกต้องมาโดยตลอด

จากนั้น เมื่อเวลา 17.30 น. สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) มีหนังสือถึง กกท. ลงวันที่ 19 สิงหาคม แจ้งว่า ตามที่ กกท. มีหนังสือถึงผู้รักษาการประธาน OCA โดยได้ระบุในหนังสือว่าทันทีที่ได้รับงบประมาณ จะดำเนินการตามขั้นตอนการจัดการแข่งขันเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 ที่ยังไม่ได้ยุติ เนื่องจากงบประมาณที่ยังไม่ได้รับการจัดสรร ทำให้เกิดผลกระทบในหลายส่วน ในการจัดการแข่งขันภายในระยะเวลา 3 เดือน นั้น OCA ไม่สามารถยอมรับความเสี่ยงในครั้งนี้ได้ และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) จึงได้มีมติให้ยกเลิกการจัดการแข่งขันฯ ทั้งนี้ หาก คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ มีความประสงค์จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ก็สามารถยื่นเสนอตัวได้ภายหลังการแข่งขันเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 7 “Riyadh Games” ของซาอุดีอาระเบีย ได้อีกครั้งหนึ่ง

เอเชียน อินดอร์ – หลังจากที่ สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (โอซีเอ) มีหนังสือยกเลิกสิทธิ์ จัดการจัดการแข่งขันกีฬา เอเชียน อินดอร์ และ มาร์ เชียลอาร์ทเกมส์ ของประเทศไทย จากปัญหาเรื่องงบประมาณที่ล่าช้า และกระชั้นชิดเกินไปสำหรับการจะจัดการแข่งขันในเดือน พ.ย.นี้

ล่าสุด คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย แถลง ระบุเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเป็นการเสื่อมเสียต่อความเชื่อมั่น เกียรติภูมิทางด้านกีฬาของไทยที่สะสมมาอย่างยาวนาน

ตามที่ สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ( OCA ) ได้ยกเลิกสิทธิ์ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันอินดอร์มาเชียลอาร์ทเกมส์ ระหว่างวันที่ 21 – 30 พฤศจิกายน 2567 หลังเลื่อนการแข่งขัน ฯ ตั้งแต่ปี 2021 รวม 4 ครั้ง จนเหลือระยะเวลาอีกไม่ถึง 3 เดือน คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ฯ ยังไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนไขที่ OCA กำหนดได้จนเป็นเหตุให้ต้องถอนสิทธิ์ ประเทศไทย นั้น

ในส่วนของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ฯ ยอมรับว่ามีความกังวลเรื่องนี้มาโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมาได้เป็นตัวกลางในการช่วยประสานงานระหว่างคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ฯ กับสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) ในการดำเนินการ ตลอดจนการขอเลื่อนการแข่งขันมาโดยตลอด เพื่อรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงและเกียรติภูมิทางด้านกีฬาของประเทศไทย

กระทั่งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา โอซีเอ ได้จัดประชุมพิเศษคณะผู้บริหาร โอซีเอ เกี่ยวกับการถอนสิทธิ์ของประเทศไทย คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ฯ จึงได้มีหนังสือ ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ถึง สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (โอซีเอ) ขอให้ชะลอ การพิจารณาออกไปก่อน เนื่องจากจะมีการประชุมคณะกรรมการ จัดการแข่งขันของไทย

เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2567 นี้ ซึ่ง สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) ได้ยินดีที่จะปฏิบัติตามคำร้องขอจากคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ฯ และ สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) มีหนังสือถึง คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ฯ และคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ฯ ว่าจะรอความคืบหน้าทางฝั่งไทย จนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2567 เวลา 17:00 น. โดยมีเงื่อนไขว่าทางไทย ต้องมีความชัดเจนใน 9 ประเด็น ประกอบด้วย

-เรื่องงบประมาณที่มีหลักฐานว่าคณะกรรมการจัดการแข่งขันมีงบประมาณเรียบร้อยแล้ว
-เรื่องสัญญาการจ่ายเงินในการเช่าสถานที่แข่งขันต่างๆ
-เรื่องการวางมัดจำโรงแรมที่พักและหลักฐานการจ่ายเงิน
-เรื่องการจ่ายเงินจัดจ้างระบบขนส่งต่างๆ
-การดำเนินการด้านสารต้องห้าม
-การจัดจ้างอาสาสมัครและการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในการดำเนินงาน
-เรื่องการจัดจ้างบริษัท ฯ ที่รับผิดชอบระบบ IT ของการแข่งขัน
-เรื่องของการจัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน
-สัญญาการจัดจ้างบริษัทจะจะปรับปรุงสนามแข่ง

ตามปฏิทินเดิม ศึกเอเชียนอินดอร์ แอนด์ มาร์เชียลอาร์ตเกมส์ ครั้งที่ 6 ถูกวางการแข่งขันไว้ในเดือนพฤษภาคม 2021 ก่อนจะมาถึงจุดนั้นทางสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) ได้มีการเฟ้นหาเจ้าภาพมาตั้งแต่ปี 2017 หรือหลังจบการแข่งขันครั้งที่ 5 ที่ประเทศเติร์กเมนิสถาน โดยสอบถามความสนใจจากชาติต่าง ๆ ซึ่งมีประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น ประเทศไทยเคยได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพศึกเอเชียนอินดอร์เกมส์มาแล้วในปี 2005 รวมถึงเอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์ ปี 2009 สมัยที่ทั้งสองรายการยังแยกกัน ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากชาติสมาชิก

กระทั่งทุกฝ่ายเห็นชอบและได้มีการลงนามเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการในปี 2020 โดยหัวเรือใหญ่คือ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่มี พิพัฒน์ รัชกิจประการ เป็นรัฐมนตรี และการกีฬาแห่งประเทศไทย โดย ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ ทว่าด้วยสถานการณ์การต่าง ๆ ทำให้รายการนี้ต้องถูกเลื่อนออกไปถึง 4 ครั้ง โดย 2 ครั้งแรกมาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิดที่ยังไม่คลี่คลาย ขณะที่ 2 ครั้งต่อมาประเทศไทยขอเลื่อนเนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนทางการเมืองหลังการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศเมื่อปี 2023 รวมถึงกระชั้นชิดกับการแข่งโอลิมปิกเกมส์ 2024 เกินไป จนได้ข้อสรุปสุดท้ายว่าจะจัดแข่งในเดือนพฤศจิกายน 2024 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแม้จะมีการเลื่อนแข่งขันหลายครั้ง แต่ทุกฝ่ายในประเทศไทยยังแสดงถึงความมั่นใจและพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพ โดยในปี 2023 ทางคณะรัฐมนตรียังได้อนุมัติเงินจำนวน 1,745 ล้านบาท โดยใช้งบจากกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ สำหรับใช้จัดการแข่งขันอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาที่กว่า 4 ปีที่ล่วงเลยมา สถานการณ์ในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมากมาย โดยเฉพาะตำแหน่ง “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” ที่มีการเปลี่ยนหัวเรือมาแล้วถึง 3 คน จากพิพัฒน์ รัชกิจประการ มาเป็น สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล และล่าสุดคือ เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ที่เข้ามานั่งเก้าอี้เมื่อเดือนเมษายน 2024 … และนี่เองอาจเป็นจุดเริ่มต้นของบทสรุปที่เกิดขึ้นในครั้งนี้

การโดนยกเลิกสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ เป็นที่ยืนยันแล้วว่าจะไม่ส่งผลต่อประเทศไทยเรื่องการโดนแบนทุกกรณี ไม่ว่าจะแบนเป็นเจ้าภาพหรือแบนนักกีฬาเข้าแข่งขันรายการต่าง ๆ ต่อจากนี้ เนื่องจากไม่มีระบุอยู่ในสัญญา Host City Contract แต่สิ่งที่ต้องสูญเสียไปคือความเชื่อมั่นจากนานาชาติ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นแสดงถึงความไม่พร้อมภายในประเทศ และแน่นอนว่าอาจส่งผลถึงการพิจารณาในการขอเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาต่าง ๆ ในอนาคตด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ยังสูญเสียเม็ดเงินไปกว่า 980 ล้านบาท ที่ถูกเบิกมาใช้สำหรับค่าเก็บตัวฝึกซ้อมของนักกีฬา รวมถึงค่าเตรียมการต่าง ๆ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา รวมถึงอาจต้องเสียเงินค่าปรับหรือค่าส่วนต่างให้กับทาง OCA เพิ่มหากโดนเรียกเก็บอีกด้วย แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่สูญเสียก็คือ “#โอกาสของนักกีฬา” ที่เตรียมเข้าร่วมแข่งขันมหกรรม “เอเชียนอินดอร์ แอนด์ มาร์เชียลอาร์ตเกมส์” แม้จะไม่ใช่รายการกีฬายอดนิยมเหมือนเอเชียนเกมส์และโอลิมปิกเกมส์ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ารายการนี้มีความสำคัญต่อนักกีฬาจำนวนไม่น้อย ชนิดกีฬาที่ถูกบรรจุอยู่ในรายการนี้ส่วนใหญ่เป็นกีฬาในร่มและกีฬาที่ใช้ศิลปะการต่อสู้ ที่ไม่ถูกบรรจุเป็นกีฬาประจำในเอเชียนเกมส์หรือโอลิมปิกเกมส์ เช่น มวยไทย, อีสปอร์ต, เอ็กซ์ตรีม, กรีฑาในร่ม, ฟุตซอล, คิวสปอร์ต (บิลเลียด-สนุกเกอร์)

นอกจากนี้บางชนิดกีฬา ทัวร์นาเมนท์นี้ยังถือเป็นรายการใหญ่ประจำปี เพราะกีฬาของตัวเองไม่มีการจัดชิงแชมป์โลกหรือชิงแชมป์เอเชียในปีนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน นักกีฬาหลายคนจึงมุ่งมั่นฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อรอคอยที่จะแสดงศักยภาพในการแข่งขัน การถูกยกเลิกครั้งนี้จึงส่งผลกระทบต่อนักกีฬาไปเต็ม ๆ โดยเฉพาะนักกีฬาไทยที่หวังกุมความได้เปรียบจากการได้แข่งในบ้านตัวเอง และแน่นอนว่าเมื่อถูกยกเลิกทำให้นักกีฬาต้องรอไปจนถึงการแข่งครั้งต่อไปที่ซาอุดีอาระเบีย ปี 2025 ซึ่งห่างจากครั้งสุดท้ายที่จัดที่เติร์กเมนิสถาน เมื่อปี 2017 ถึง 8 ปีเต็ม

สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) เตรียมสรุปเรื่องการเป็นเจ้าภาพเอเชียนอินดอร์ และมาร์เชียลอาร์ตเกมส์ ครั้งที่ 6 ของประเทศไทย ช่วง 5 โมงเย็นวันนี้ ด้าน ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย มั่นใจหากได้จัดมีแผนเตรียมไว้หมดและ แต่หากโดนยกเลิก อาจขอเสนอตัวใหม่ปี 2029 ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย ตั้งโต๊ะแถลงข่าวความคืบหน้าการเป็นเจ้าภาพเอเชียนอินดอร์ และมาร์เชียลอาร์ตเกมส์ ครั้งที่ 6 ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปว่าประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงานในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ต่อหรือไม่หลังมีปัญหาเรื่องความล่าช้า ผู้ว่า กกท. ยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัด 14 ชนิดกีฬา โดยเป็นทาง OCA ที่ทำจดหมายถึงประเทศไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทาง กกท. ในฐานะเป็นฝ่ายปฏิบัติการได้เดินหน้าตามแผนการจัดการแข่งขันมาโดยตลอด ทั้งการดูและการฝึกซ้อมของนักกีฬา สนามแข่งขัน ที่พัก การจราจร แต่ตอนนี้ทาง OCA ต้องการที่จะได้ความชัดเจนเรื่องงบประมาณที่ใช้

“OCA ให้มีการอนุมัติงบประมาณสำหรับการเซ็นสัญญาเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรายังปฏิบัติไม่ได้ ขึ้นอยู่กับทางท่านรัฐมนตรีและคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ซึ่งที่ผ่านมามีการเลื่อนประชุมมาหลายรอบ ทำให้แผนงานและงบประมาณยังไม่ได้รับการพิจารณา โดยผมได้ทำหนังสือถึงท่านรัฐมนตรีให้มีการจัดประชุมเร่งด่วนไปแล้ว”

“สุดท้ายแล้วถ้าได้จัดเราก็พร้อมเดินหน้าตามแผนงานที่วางไว้ ไม่ว่าจะได้จัดครบทั้ง 38 ชนิดกีฬาหรือไม่ แต่ถ้าไม่ได้จัดเราอาจจะขอเป็นเจ้าภาพหลังจากซาอุดิอาระเบีย (ปี 2025) รวมถึงเดินหน้าเรื่องการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ต่อ” ดร.ก้องศักด เผย