จากที่ประชุม คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (กกมท.) ครั้งที่ 4/2564 มีมติให้เลื่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 จากเดือนธันวาคม 2564 “เป็นเดือนมกราคม 2566” โดยกำหนดให้มีการจัดแข่งขันรอบคัดเลือกดังเดิม
คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ให้เกียรติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 “ดอกจานบ้านเชียงเกมส์” คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 มีมติให้เลื่อนการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 “ดอกจานบ้านเชียงเกมส์” เป็นเดือนมกราคม 2566 นั้น
ในการนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ขอแจ้งกำหนดการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 “ดอกจานบ้านเชียงเกมส์” ระหว่างวันที่ 21-30 มกราคม 2566 โดยพิจารณาชนิดกีฬาที่จะจัดการแข่งขัน จำนวนทั้งสิ้น 35 ชนิด ดังนี้
1. กีฬาบังคับ จำนวน 10 ชนิดกีฬา
- กรีฑา
- ว่ายน้ำ
- ฟุตบอล
- วอลเลย์บอล
- บาสเกตบอล
- แบดมินตัน
- เซปักตะกร้อ
- เทควันโด
- ฟุตซอล
- เทนนิส
2. กีฬาเลือกสากล ให้เลือกอย่างน้อย 13 ชนิดกีฬา โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เสนอจัดการแข่งขัน 16 ชนิดกีฬา
- เทเบิลเทนนิส
- วอลเลย์บอลชายหาด
- เปตอง
- รักบี้ฟุตบอล
- ยูยิตสู
- เพาะกาย
- มวยสากลสมัครเล่น
- Esports
- บาสเกตบอล 3 คน
- กีฬาทางอากาศ
- เรือพาย
- ปันจักสีลัต
- ฮับกิโด
- แฮนด์บอล
- จานร่อน
- ขี่ม้า
3. กีฬาเลือกทั่วไป ให้เลือกอย่างน้อย 1 ชนิดกีฬา โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เสนอจัดการแข่งขัน 4 ชนิดกีฬา
- เอแมท
- ครอสเวิร์ด
- หมากกระดาน
- บริดจ์
4. กีฬาไทย ให้เลือกอย่างน้อย 1 ชนิดกีฬา โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เสนอจัดการแข่งขัน 1 ชนิดกีฬา
- มายไทยสมัครเล่น
5. กีฬาสาธิต ให้มหาวิทยาลัยเจ้าภาพกำหนดชนิดกีฬาได้ตามความพร้อม โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เสนอจัดการแข่งขัน 4 ชนิดกีฬา
- คอร์ฟบอล
- เกทบอล
- แอโรบิกดานซ์
- สแต๊ก
มาสคอต “คุณทองโบราณ”
ประวัติความเป็นมา
ที่มาของ“คุณทองโบราณ”เป็นโครงกระดูกสุนัขสภาพสมบูรณ์เต็มตัวที่ขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงมรดกโลก ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2546 บริเวณพิพิธภัณฑ์เปิดวัดโพธิ์ศรี ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานีบ่งบอกว่าชาวบ้านเชียงในอดีตได้เลี้ยงสุนัขไว้เป็นเพื่อนหรือใช้งานแล้ว ต่อมา พญ.คุณหญิงอัมพร สุคนธมาน พร้อมด้วย นสพ.นพกฤษณ์ จันทิก ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและนำตัวอย่าง“กราม”ไปให้ทอดพระเนตร
ซึ่งทรงตรัสให้นำกลับไปเก็บรักษาไว้ และพระราชทานนามว่า “คุณทองโบราณ”